มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ตามที่ สำนักงาน ป.ป.ช.ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และคณะที่ปรึกษาจาก 4 สถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มูลนิธิพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and  Transparency Assessment) หรือการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นั้น

การประเมิน TA  เป็นเครื่องมือในเชิงบวกที่มุ่งพัฒนาระบบราชการไทยในเชิงสร้างสรรค์มากกว่ามุ่งจับผิด เปรียบเสมือนเครื่องมือตรวจสุขภาพองค์กรประจำปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ                ทั่วประเทศได้รับทราบถึงสถานะและปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร ผลการประเมินที่ได้จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการปฏิบัติงานการให้บริการ และการอำนวยความสะดวกต่อประชาชน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการจัดทำแนวทาง/มาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในปีงบประมาณต่อไปด้วย นอกจากนี้                   การประเมิน ITA ยังได้รับการยอมรับและถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือในการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานภาครัฐตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ดังนั้น การประเมิน ITA  จึงไม่ได้มีเพียงเฉพาะกิจกรรมการประเมินผลการดำเนินงานในด้านคุณธรมและความโปร่งใสของแต่ละหน่วยงานภาครัฐแต่ยังประกอบด้วยกิจกรรมภายในของแต่ละหน่วยงานในการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐและการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพมาตรฐานการดำเนินงานในมิติต่างๆ ตามกรอบการประเมินให้ดียิ่งขึ้นด้วย

การประเมิน ITA มีกระบวนการดำเนินงานเป็นไปตามหลักการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) โดยคำนึงถึงการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้านและหลากหลายมิติ เพื่อให้ผลการประเมินสามารถสะท้อน              สุขภาวะ ขององค์กรในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสได้อย่างแท้จริง โดยมีการเก็บข้อมูลจาก ๓ ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ ๑ การเก็บข้อมูลจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT) โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรภาครัฐทุกระดับที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ได้มีโอกาสเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นต่อคุณธรรมและความโปร่งใสในองค์กรของตนเอง โดยสอบถามการรับรู้และความคิดเห็นใน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่

ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ

ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ

ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ

ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต

ส่วนที่ 2 การเก็บข้อมูลจากผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐ (External Integrity and Transparency Assessment : EIT) ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยสอบถามการรับรู้และความคิดเห็นใน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน

ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร

ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงการทำงาน

ส่วนที่ 3 การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) เป็นการตรวจสอบระดับการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่เผยแพร่ไว้ทางเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน โดยมีคณะที่ปรึกษาการประเมิน ITA ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและคนกลาง (third party) เป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลและให้คะแนน พร้อมให้ข้อเสนอแนะตามหลักเกณฑ์การประเมินที่กำหนด          แบ่งออกเป็น 2 ตัวชี้วัด ได้แก่

ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล

ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต

การประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้เริ่มกระบวนการประเมินผ่านระบบ ITAS ที่เว็บไซต์ https://itas.nacc.go.th/ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 และได้สิ้นสุดกระบวนการประเมินฯ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ซึ่งแม้ว่าในปีงบประมาณนี้ หน่วยงานภาครัฐจะพบกับอุปสรรคในการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) แต่หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศได้ร่วมมือและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนสามารถดำเนินการประเมินตามขั้นตอนที่กำหนดได้ครบถ้วนทั้ง 8,300 หน่วยงาน อีกทั้งในปีงบประมาณนี้ ยังมีประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมสะท้อนความเห็นต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนถึง 1,331,588 ราย โดยตลอดกระบวนการประเมิน ITA ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการกำกับและพัฒนาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 และคณะกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ได้กำกับการดำเนินงานและพิจารณากลั่นกรองข้อมูลผลการประเมิน ITA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 114/2564 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 เห็นชอบให้สำนักงาน ป.ป.ช. ประกาศผลการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมินและสาธารณชนรับทราบต่อไป รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศฯ ฉบับนี้ ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมิน ITA สามารถรับทราบรายละเอียดผลการประเมิน ITA ของตนเองได้ทางระบบ ITAS ที่เว็บไซต์ https://itas.nacc.go.th/ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

1. การวิเคราะห์ผลการประเมิน ITA ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

จากผลการประเมิน ITA ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง พบว่า มีผลคะแนน 94.58 คะแนน อยู่ในระดับ A ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยวิเคราะห์ผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัด ได้ดังนี้

ตัวชี้วัดของการประเมิน ITA

ประเด็นที่ต้องแก้ไข/ปรับปรุง/รักษาระดับ

แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)

1. การปฏิบัติหน้าที่                                 98.98

2. การใช้งบประมาณ                              92.89

3. การใช้อำนาจ                                    98.57

4. การใช้ทรัพย์สินของราชการ                   98.37

5. การแก้ไขปัญหาการทุจริต                     98.46

ผลคะแนน IIT มีประเด็นที่ต้องปรับปรุงในเรื่องการใช้งบประมาณ พบว่าบุคลากรภายในหน่วยงานส่วนใหญ่ยังไม่ทราบหรือรับรู้เกี่ยวกับแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน อีกทั้งยังพบว่าบุคลากรนำทรัพย์สินของราชการไปใช้เป็นของส่วนตัวโดยไม่ได้ขออนุญาต

แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

6. คุณภาพการดำเนินงาน                        90.94

7. ประสิทธิภาพการสื่อสาร                       93.28

8. การปรับปรุงการทำงาน                        89.70

ผลคะแนน EIT ควรจะต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้มีการพัฒนา เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT)

9. การเปิดเผยข้อมูล                               89.78

10.การป้องกันการทุจริต                        100.00

ผลคะแนน OIT พบว่า ควรมีการเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน ชัดเจน ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน

 

 

 

2. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

 

จากการประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง เพื่อกำหนดมาตรการในการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง ดังนี้

 

มาตรการ/แนวทาง

วิธีการดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

ระยะเวลาดำเนินการ

การติดตามผล

1. การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้บุคลากรภายในหน่วยงานเกี่ยวกับแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีของหน่วยงาน

1. ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี 2565

กองคลัง

ม.ค. 65 - มี.ค. 65

รายงานผลการดำเนินงานในการประชุม คณะกรรมการประจำเดือนเมษายน 2565

2. เสริมสร้างความรู้ให้กับบุคลากรในหน่วยงาน เรื่องการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม

1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม

สำนักปลัด

ม.ค. 65 - มี.ค. 65

รายงานผลการดำเนินงานในการประชุมคณะกรรมการ ประจำเดือนเมษายน 2565

3. ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความสะดวกในการบริการประชาชนหรือผู้มาติดต่อ

1. จัดฝึกอบรมส่งเสริมความรู้ และพัฒนาศักยภาพ บุคลากร

ผู้ให้บริการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ทุกกอง/ สำนัก

ตลอดปี 65

รายงานผลการดำเนินงานในการประชุม คณะกรรมการทุกเดือน

4. ปรับปรุงเว็บไซต์ของหน่วยงานให้สอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)

1. ปรับปรุงและอัพเดทข้อมูลให้มีความครบถ้วน ชัดเจน ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน

สำนักปลัด

ม.ค. 65 - มี.ค. 65

รายงานผลการดำเนินงานผ่านเว็บไซต์ www.bannaidong.go.th วันที่ 31 มีนาคม 2565